img

ยุทธศาสตร์

    เพื่อให้การขับเคลื่อนงานบรรลุตามวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์และเป้าหมายของสํานักงานฯ รวมทั้งตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนปฏิรูปประเทศ และแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคม ที่เกี่ยวข้อง พกฉ. จึงได้กําหนดการขับเคลื่อนเป็น 5 ประเด็นยุทธศาสตร์ และ 12 กลยุทธ์


  • ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 การขับเคลื่อนพระเกียรติคุณและพระอัจฉริยภาพกษัตริย์เกษตร สู่สังคมให้เป็นที่ประจักษ์

  • กลยุทธ์ 1 พัฒนาสื่อและการจัดแสดงนิทรรศการ รวมทั้งฐานการเรียนรู้ที่ทันสมัย

  • กลยุทธ์ 2 เผยแพร่พระเกียรติคุณและพระอัจฉริยภาพให้เป็นที่ประจักษ์

  • กลยุทธ์ 3 พัฒนาและยกระดับให้เป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวเกษตรเศรษฐกิจพอเพียง

    - มีแนวทางพัฒนาที่สำคัญ คือ พัฒนาการจัดทำสื่อ และการจัดแสดงนิทรรศการ รวมทั้งฐานการเรียนรู้ และการเผยแพร่พระเกียรติคุณพระอัจฉริยภาพกษัตริย์เกษตร สู่สังคม เพื่อให้เป็นพิพิธภัณฑ์ชั้นนำแห่งการเรียนรู้พระเกียรติคุณพระอัจฉริยภาพของพระมหากษัตริย์ไทย และพระบรมวงศานุวงศ์ ด้านการเกษตร รวมทั้งเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

    เป้าประสงค์ของยุทธศาสตร์
    ด้านสังคม
    คือ ประชาชนได้เรียนรู้ เข้าใจ พระเกียรติคุณพระอัจฉริยภาพกษัตริย์เกษตร และหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการเกษตร เกิดเจตคติที่ดีในการน้อมนำไปปฏิบัติจริง

  • ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 การขับเคลื่อนเชื่อมโยงและประยุกต์หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการเกษตรสู่สังคม

  • กลยุทธ์ 4 ขยายเครือข่ายและภาคีความร่วมมือ ในการสืบสาน รักษา ต่อยอด หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการเกษตร

  • กลยุทธ์ 5 บูรณาการขับเคลื่อนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงร่วมกับเครือข่าย ภาคีความร่วมมือ และพันธมิตร

    - มีแนวทางการดำเนินการที่สำคัญคือ พัฒนาเครือข่าย ภาคีความร่วมมือที่มีอยู่เดิม และขยายเครือข่าย ภาคีความร่วมมือ พันธมิตร หน่วยงานและองค์กรใหม่ๆ ในการขับเคลื่อนเชื่อมโยง หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการเกษตร เพื่อการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน

    เป้าประสงค์ของยุทธศาสตร์
    ด้านสังคม
    คือ พัฒนาเครือข่าย ภาคีความร่วมมือที่มีอยู่เดิม และขยายเครือข่าย ภาคีความร่วมมือ และพันธมิตร เพื่อสร้างให้ชุมชนมีความ เข้มแข็ง สามารถ บริหารจัดการ ตนเองได้ พร้อมทั้งขยายผลหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการเกษตรสู่สังคม

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 การยกระดับองค์ความรู้ ภูมิปัญญานวัตกรรมเกษตรเศรษฐกิจพอเพียง

กลยุทธ์ 6 ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และเผยแพร่องค์ความรู้ ภูมิปัญญา นวัตกรรมเกษตรเศรษฐกิจพอเพียงในรูปแบบวิถีใหม่

กลยุทธ์ 7 วิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมสู่การนำไปใช้ประโยชน์

- มีแนวทางการดำเนินการที่สำคัญคือ รวบรวม ประมวล จัดทำองค์ความรู้ และวิจัยเชิงปฏิบัติการ รวมทั้งการจัดกระบวนการเรียนรู้ เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้สู่การนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง

เป้าประสงค์ของยุทธศาสตร์
ด้านสังคม
คือ เกษตรกร ประชาชน เข้าถึงองค์ความรู้ ภูมิปัญญา นวัตกรรมเกษตรเศรษฐกิจพอเพียง สามารถนำความรู้ ไปประยุกต์ใช้ในวิถีชีวิตเพื่อให้เกิดความยั่งยืน และขยายผลสู่สังคม
ด้านเศรษฐกิจ คือเกษตรกร ประชาชน สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการ ลดรายจ่าย สร้างรายได้ และเกิดความมั่นคงในอาชีพ

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 การบริหารจัดการทรัพยากรและเพิ่มความสามารถในการให้บริการ

กลยุทธ์ 8 ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อการประชาสัมพันธ์ การตลาด ลูกค้าสัมพันธ์ และการบริการ

กลยุทธ์ 9 พัฒนาระบบเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อการบริหารจัดการองค์กรและการบริการ

กลยุทธ์ 10 พัฒนากิจการของสำนักงานโดยส่งเสริมการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด

- มีแนวทางพัฒนาที่สำคัญคือ ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการเสริมสร้างประสิทธิภาพการบริหารองค์กร การสื่อสาร การตลาด การประชาสัมพันธ์ และการบริการ ให้เกิดประสิทธิภาพในการเผยแพร่พระเกียรติคุณและพระอัจฉริยภาพของกษัตริย์เกษตร และการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการเกษตร สู่สังคมในวงกว้าง เสริมสร้างภาพลักษณ์องค์กรที่ดีเป็นที่รู้จักของประชาชนโดยทั่วไป ตลอดจนการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการดำเนินกิจการให้ดียิ่งขึ้น

เป้าประสงค์ของยุทธศาสตร์
ด้านบริหารจัดการ
คือ มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ครบถ้วน ทันสมัย และมีประสิทธิภาพ สนับสนุนการบริหารงาน และการให้บริการ เพื่อการเผยแพร่พระเกียรติคุณ และพระอัจฉริยภาพ ด้านการเกษตรเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้งการใช้ทรัพยกรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการองค์กรบนฐานธรรมาภิบาล

กลยุทธ์ 11 บริหารจัดการองค์กรที่ดี

กลยุทธ์ 12 บริหารทรัพยากรบุคคลและการพัฒนาบุคลากร

- มีแนวทางการดำเนินการที่สำคัญคือพัฒนาบุคลากร เสริมสร้างประสิทธิภาพการบริหารจัดการที่ดี มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ ใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด และคุ้มค่าที่สุด เพื่อให้ระบบภายในองค์กรมีระเบียบตามแบบแผน อำนวยความสะดวก สนับสนุน และส่งเสริมให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพ สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กร

เป้าประสงค์ของยุทธศาสตร์
ด้านบริหารจัดการ
คือ การบริหารจัดการของสำนักงานมีประสิทธิภาพ เกิดประสิทธิผล และมีความโปร่งใส ตรวจสอบได้