
พิพิธภัณฑ์ในหลวงรักเรา (อาคารเฉลิมพระเกียรติฯ 5 ชั้น 1)
โซนจัดแสดงที่ 1
พระราชพิธีในวิถีเกษตร
พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เป็นพระราชพิธีที่มีแต่โบราณเพื่อความเป็นสิริมงคลและสร้างขวัญกำลังใจให้แก่เกษตรกร เมื่อเริ่มต้นฤดูกาลเพาะปลูก และได้ถูกยกเลิกไปเมื่อ พ.ศ.2479 และต่อมา พ.ศ.2503 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงฟื้นฟูพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญขึ้นเพื่อเป็นการสืบทอดโบราณราชเพณี

หุ่นจำลอง พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ

โซนจัดแสดงที่ 2
กษัตริย์ เกษตร
จัดแสดงพระราชประวัติ ตั้งแต่พระองค์ทรงพระราชสมภพ 5 ธันวาคม 2470 พระราชกรณียกิจกว่า 60 ปีที่ผ่านมา ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ความสัมพันธ์ของพระมหา กษัตริย์กับการเกษตรในยุคสมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา สมัยธนบุรี สมัยรัตนโกสินทร์ และตำนานการก่อเกิดเกษตรกรรม รับชมภาพยนตร์ การ์ตูนแอนิเมชั่น 3 มิติ ทะลุหน้าจอ จำนวน 8 เรื่อง ประกอบด้วย“เรื่องของพ่อในบ้านของเรา”“แผ่นดินของเรา” “ทรัพย์ ดิน สินน้ำ” “ไผ่รวกกับทานตะวันผู้ยโส”“เมล็ดสุดท้าย”“คิดถึงมิลืมเลือน”“สืบทอดความดีงาม” และ “อัจฉริยะนวัตกรรม” ในโรงภาพยนตร์ กษัตริย์ เกษตร รองรับผู้เข้าชมกว่า 120 ที่นั่ง
โซนจัดแสดงที่ 3
3) หลักการทรงงาน
หลักการทรงงาน 23 ข้อ
หลักการทรงงานในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ทรงยึดทางสายกลางสอดคล้องกับ สิ่งแวดล้อมและสามารถปฏิบัติได้จริง ทรงมีความละเอียดรอบคอบและทรงคิดค้นหา แนวทางพัฒนาเพื่อมุ่งสู่ประโยชน์สูงสุดสำหรับราษฎร
1.ศึกษาข้อมูลอย่างเป็นระบบ ทรงศึกษาค้นคว้าข้อมูลรายละเอียดอย่างเป็นระบบ จากข้อมูล เอกสารแผนที่ สอบถามจากเจ้าหน้าที่ นักวิชาการ และราษฎรในพื้นที่ให้ได้ รายละเอียดที่ถูกต้อง
2.ระเบิดจากข้างใน ต้องสร้างความเข้มแข็งให้คนในชุมชนที่เราเข้าไปพัฒนาพร้อมที่ จะรับการพัฒนาเสียก่อน แล้วจึงค่อยออกสู่สังคมภายนอก
3.แก้ปัญหาที่จุดเล็ก ทรงมองปัญหาในภาพรวมก่อนเสมอ แต่การแก้ปัญหานั้นทรง เริ่มจากจุดเล็กๆ (Micro) คือ การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่คนมักจะมองข้าม
4.ทำตามลำดับขั้น เริ่มจากสิ่งที่จำเป็นที่สุดก่อนของประชาชนภูมิสังคม การพัฒนา ใดๆ ต้องคำนึงถึงสภาพภูมิประเทศของบริเวณนั้น และสังคมวิทยาเกี่ยวกับลักษณะ นิสัยใจของคน
5.องค์รวม ทรงมีวิธีคิดแบบองค์รวม (Holistic) หรือ มาอย่างครบวงจร ทรงมอง เหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นและแนวทางแก้ไขอย่างต่อเนื่อง
6.ไม่ติดตำรา การพัฒนาตามแนวพระราชดำริ มีลักษณะการพัฒนาที่อนุโลมและ รอมชอมกับสภาพธรรมชาติสิ่งแวดล้อม สภาพของสังคมที่จิตวิทยาแห่งชุมชน คือ ไม่ ติดตำรา ไม่ผูกมัดติดกับวิชาการและเทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสมกับสภาพจริง
7.ประหยัด เรียบง่าย ได้ประโยชน์สูงสุด ทรงใช้หลักในการแก้ไขปัญหาด้วยความเรียบ ง่ายแลประหยัด ราษฎรสามารถทำได้เอง หาได้เองในท้องถิ่น และประยุกต์ใช้สิ่งที่มีอยู่ใน ภูมิภาคนั้นๆ มาแก้ไขปัญหาโดยไม่ต้องลงทุนสูงหรือใช้เทคโนโลยีที่ไม่ยุ่งยากนัก
8.ทำให้ง่าย ทรงคิดค้น ดัดแปลง ปรับปรุง แก้ไขงานการพัฒนาประเทศตามแนวพระ ราชดำริให้ดำเนินไปได้โดยง่าย ไม่ยุ่งยากซับซ้อน
9.การมีส่วนร่วม/ทำงานเป็นทีม การร่วมกันแสดงความเห็นและรู้จักรับฟังความคิด เห็นของคนอื่น ต้องหัดทำใจให้กว้างขวางหนักแน่น
10.ประโยชน์ส่วนรวม ทรงระลึกถึงประโยชน์ของส่วนรวมเป็นสำคัญ
11.บริการที่จุดเดียว การบริการแบบเบ็ดเสร็จ หรือ One Stop Service ที่เกิดขึ้นเป็น ครั้งแรก โดยทรงให้ “ศูนย์การศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริเป็นแบบใน การบริการรวมที่จุดเดียว เพื่อประโยชน์ต่อประชาชนที่จะมาขอใช้บริการจะบริการรวมที่ จุดเดียว
12.ธรรมชาติช่วยธรรมชาติ หากเราต้องการแก้ไขปัญหาจะต้องใช้ธรรมชาติเข้าช่วย เหลือได้พระราชทานพระราชดำริ การปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูก ปล่อยให้ธรรมชาติช่วยใน การฟื้นฟูธรรมชาติ 13.ใช้อธรรมปราบอธรรม ความจริงในเรื่องความเป็นไปแห่งธรรมชาติและกฎเกณฑ์ ของธรรมชาติมาเป็นหลักการ เช่น การบำบัดเน่าเสีย โดยใช้ผักตบชวา ซึ่งมีตาม ธรรมชาติ ให้ดูดซึมสิ่งสกปรกปนเปื้อนในน้ำ และยังมีหลักการทรงอื่นๆ ที่ได้รวบรวมไว้ เป็นต้น






โซนจัดแสดงที่ 4
หัวใจใฝ่เกษตร
สนุกกับของเล่นในวิถีเกษตร จากธรรมชาติใกล้ตัว ทำได้เองพร้อมองค์ความรู้ในวิถีเกษตร เครื่องสีข้าวด้วยมือ เครื่องใช้ไม้สอยในการประกอบอาชีพเกษตร
โซนจัดแสดงที่ 5
ตามรอยพ่ออยู่อย่างพอเพียง
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงมีพระราชจริยวัตรตามวิถีแห่งปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงด้วย พระองค์ท่านเอง ผ่านการถ่ายทอดเรื่องราวที่ทรงเป็นแบบอย่าง การใช้สิ่งของต่างๆ อย่างคุ้มค่า เช่น หลอดยาสีพระทนต์ ดินสอคู่พระหัตถ์ เป็นต้น
พระราชดำริที่พระราชทานเกี่ยวกับงานพัฒนาที่ทรงยึดเศรษฐกิจพอเพียง เกษตรทฤษฎีใหม่ เศรษฐกิจพอเพียงภาคการเกษตร โดยใช้หลักคิดคำนวณแบ่งที่ดินออกเป็นส่วนชัดเจน กักเก็บน้ำ (30) พืชต่างๆ (30) ที่นา (30) ที่อยู่อาศัย (10) ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
หลัก 3 ห่วง 2 เงื่อนไข
พอประมาณ : ไม่น้อย ไม่มากจนเกินไป เพียงพอแก่การดำเนินชีวิต
การใช้เหตุผล : คิดคำนึงตรึกตรองถึงสิ่งที่เกี่ยวข้องอย่างรอบคอบ คำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิด
ภูมิคุ้มกัน : วางแผนชีวิตที่มีทางเลือก พร้อมรับผลกระทบจากความเสี่ยงและการเปลี่ยนแปลง
ความรู้ : มีข้อมูลความรู้ที่เกี่ยวกับสิ่งที่กำลังจะทำ
คุณธรรม : มีความซื่อสัตย์ อดทน มีสติปัญญาและความเพียร เอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น
สู่วิถีพอเพียงด้วย สุ จิ ปุ ลิ แนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
สุ : สุตะ คือ ฟัง รู้ได้ด้วยการฟัง ฟังอย่างตั้งใจ ใช้สมาธิเพื่อให้เกิด ปัญญา
จิ : จินตะ คือ รู้ได้ด้วยการคิด เชื่อมโยงเปรียบเทียบ
ปุ : ปุจฉา คือ รู้ได้ด้วยการสอบถาม ค้นคว้า ย้อนถามตน ค้นหาคำ ตอบที่มีอยู่แล้ว
ลิ : ลิขิต คือ เขียน รู้ได้ด้วยการเขียน จดบันทึกทบทวน เป็นวิทยาทาน แก่ผู้อื่น ตามรอยพระวิริยภาพ

โซนจัดแสดงที่ 6
วิถีเกษตรของพ่อ
จัดแสดงนิทรรศการ พระอัจฉริยภาพด้านการจัดการ ดิน น้ำ ป่า คน จากโครงการส่วนพระองค์

สวนจิตรลดา ภายในพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน
วิถีเกษตรของพ่อ
พระราชวังดุสิต ห้องทดลองแห่งแรก พัฒนาสู่พื้นที่จริงในแต่ละ ภูมิภาคทั่วประเทศ ได้แก่ โครงการหลวง ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วย ฮ่องไคร้ฯ ศูนย์ศึกษาการพัฒนา ภูพานฯ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหิน ซ้อนฯ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ ศูนย์ศึกษาการพัฒนา ห้วยทรายฯ และศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ
โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา พื้นที่ประมาณ 50 ไร่ ภายใน พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงเสด็จเยี่ยมพสกนิกรในพื้นที่ต่างๆ ทอดพระเนตรเห็นความเดือดร้อนของเกษตรกร ทรงมุ่งมั่นที่จะแก้ไขและพัฒนาการเกษตร ไทยให้เจริญก้าวหน้า โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา จึงถือกำเนิดขึ้นเพื่อเป็นโครงการทดลองในการหาวิธีแก้ไขปัญหาด้านการเกษตรอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่ ขั้นตอนการผลิตวัตถุดิบ แปรรูป จำหน่าย รวมทั้งนำส่วนที่เหลือจาก ขั้นตอนการผลิตมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งยังมีพระราชประสงค์ที่จะ แก้ปัญหาการตัดไม้ทำลายป่า และหาพืชที่เหมาะสมให้ชาวเขาปลูกทดแทนฝิ่น และจัดตั้งศูนย์พัฒนา ขึ้นเพื่อถ่ายทอดความรู้ให้เกษตรกร ตรา“ดอยคำ” ใช้กับผลิตภัณฑ์ ทุกชนิดของโครงการหลวง

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนฯ
แก้ปัญหาทางการเกษตรพัฒนาแหล่งน้ำ ปรับปรุงดิน ฟื้นฟูป่า อนุรักษ์พืชสมุนไพรท้องถิ่น และการทำเกษตรผสมสาน ทฤษฎีใหม่เขาหินซ้อน (20: 20: 50 : 10) แบ่งเป็น (20) แหล่งน้ำและการเลี้ยงปลา (20) พื้นที่ปลูกข้าว (50) พืชสวนผสมผสาน (10) ที่อยู่อาศัย ผักสวนครัว สมุนไพร

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ฯ
ศึกษา ทดลอง วิจัย เพื่อหารูปแบบการพัฒนาด้านต่างๆ ที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ภาคเหนือ และเผยแพร่แก่ประชาชน ศึกษาการปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง การสร้างฝายชะลอความชุ่มชื้น การปลูกหญ้าแฝกเพื่ออนุรักษ์ดินและน้ำ การศึกษาด้านการประมงร่วมกับการศึกษาเกษตรกรรม ปศุสัตว์ และเกษตรอุตสาหกรรม

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ
ศึกษาพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเล รวมทั้งแผนพัฒนาการจัดการทรัพยากรให้เหมาะสม และยั่งยืนตลอดไป ระบบการจัดการน้ำ เพื่อการเพาะเลี้ยงชายฝั่ง อ่าวคุ้งกระเบนฯ ร่วมกับชุมชนช่วยกันอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าชายเลน จนกลายเป็นป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ที่สุดในจังหวัดจันทบุรี และจัดทำเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ เพื่อเผยแพร่ความรู้เรื่องระบบนิเวศแก่ผู้สนใจ

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายฯ
สนับสนุนกิจกรรมการฟื้นฟูดิน คืนป่า และการพัฒนาคุณภาพชีวิตของราษฎรในการประกอบอาชีพ ด้วยระบบเครือข่ายน้ำ (อ่างพวง) และการแก้ไขปัญหาดินดานด้วยการปลูกหญ้าแฝก

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ
ศึกษาวิจัยดินพรุ และนำผลสำเร็จไปเป็นแบบอย่างในการพัฒนาพื้นที่พรุอื่นๆ และการแก้ปัญหาดินเปรี้ยว ด้วยวิธีแกล้งดิน โดยทำให้ดินแห้ง สลับเปียก
โซนจัดแสดงที่ 7
นวัตกรรมของพ่อ
ทรงคิดค้นประดิษฐ์กรรมเพื่อคนไทย และเกษตรกรไทย ด้วยพระวิริยะและพระปรีชาสามารถของ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงศึกษา คิดค้น ทดลองซ้ำๆ สิ่งที่เกิดขึ้นเนื่องจากความพยายามแก้ปัญหาด้านการ เกษตร พลังงาน และสิ่งแวดล้อม จนปรากฏเป็นประดิษฐกรรม หรือนวัตกรรมที่ไม่มีผู้ใดคิดหรือทำขึ้นมาก่อนซึ่งในโลกยุคปัจจุบันถือเป็น ทรัพย์สินทางปัญญาที่มีมูลค่ายิ่งต่อเศรษฐกิจ และศักดิ์ศรีของประเทศ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงมีพระราชดำริให้จดสิทธิบัตร จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า และแจ้งจดลิขสิทธิ์ ในสิ่งที่ได้ทรงคิด ค้น เพื่อเป็นสมบัติภูมิปัญญาเป็นมรดกสำหรับคนไทยและประเทศไทยในอนาคต



โซนจัดแสดงที่ 8
ภูมิพลังแผ่นดิน
จัดแสดงนิทรรศการ ภาพยนตร์ส่วนพระองค์เมื่อครั้งทรงพระเยาว์ภายในโดมไม้สนที่แสนจะอบอุ่น และการเรียนรู้ 7 ช่วงสมัยของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ผ่านสื่อหนังสือดิจิตอลเล่มยักษ์
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงขึ้นครองราชย์ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อ พ.ศ.2489 และมีปฐมบรมราชโองการ “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม”ภูมิพลังแผ่นดิน ช่วงสมัยของพระบาทสมเด็จพระจ้าอยู่หัว 1 – 7 ช่วงสมัย
ช่วงสมัยที่ 1 พระอภิบาลของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (พ.ศ.2470 – 2495)
ช่วงสมัยที่ 2 เสด็จเยี่ยมราษฎรเพื่อทรงสำรวจชีวิตความเป็นอยู่และสภาพภูมิประเทศ (พ.ศ.2495 – 2504)
ช่วงสมัยที่ 3 แรกทรงคิดค้นทดลอง หาหนทางบรรเทาทุกข์แก่ราษฎร (พ.ศ.2504 - 2514)
ช่วงสมัยที่ 4 จากฝนหลวงถึงโครงการหลวง จากการจัดการน้ำถึงงานรักษาป่าไม้ (พ.ศ. 2514 – 2524)
ช่วงสมัยที่ 5 ศูนย์ศึกษาการพัฒนา พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิตให้บริการแบบเบ็ดเสร็จ (พ.ศ.2524 – 2534)
ช่วงสมัยที่ 6 ทางรอดชีวิต : ทฤษฎีใหม่ และเศรษฐกิจพอเพียง (พ.ศ.2534 – 2544)
ช่วงสมัยที่ 7 ภูมิพลังแผ่นดิน ไทยแซ่ซ้องสรรเสริญ – พระบารมี (พ.ศ.2544 – ปัจจุบัน)
นิทรรศการสนองพระราชปณิธาน
จัดแสดงนิทรรศการพระราชประวัติ พระราชกรณียกิจ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว จนกระทั่งการสนองพระราชปณิธานเพื่อประโยชน์สุขของปวงประชาชนชาวไทยทั่วทั้งแผ่นดิน โดยพระองค์ทรงมุ่งมั่นในการสืบสาน รักษา ต่อยอด พระราชดำริและพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) ในการบำบัดทุกข์ บำรุงสุขเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ปวงประชาชนชาวไทย และการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า มั่นคง และยั่งยืน

ประกอบด้วยนิทรรศการ
- หล่อหลอมกล่อมเกลา สมเด็จพระบรมราชชนกและสมเด็จพระบรมราชชนนี ทรงอบรมเลี้ยงดูพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) ตั้งแต่ทรงพระเยาว์จนกระทั่งเสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติพระองค์ทรงอุทิศพระวรกายประกอบพระราชกรณียกิจเพื่อประชาชนอย่างต่อเนื่อง และทรงบำเพ็ญพระองค์อยู่ในทศพิธราชธรรมตลอดรัชสมัย
- แบบอย่างสืบสานงานแผ่นดิน พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงร่วมกันปฏิบัติพระราชภารกิจต่างๆ เพื่อพสกนิกรและเพื่อเป็นแบบอย่างให้กับพระราชโอรสและพระราชธิดา เพื่อให้สืบสานงานแผ่นดินต่อไป
- พระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรี รายพระนามพระมหากษัตริย์ไทย ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 - 9
- สนองพระราชปณิธานและประโยชน์ของประชาชนชาวไทยทั้งปวง สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชดำรัสตอบรับการขึ้นทรงราชย์ ความว่า “ตามที่ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ปฏิบัติหน้าที่ประธานรัฐสภาได้กล่าวในนามของปวงชนชาวไทย เชิญข้าพเจ้าขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ ว่าเป็นไปตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชบรมนาถบพิตรและเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์กับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยนั้น "ข้าพเจ้าขอตอบรับเพื่อสนองพระราชปณิธานและเพื่อประโยชน์ของประชาชนชาวไทยทั้งปวง" ( 1 ธันวาคม 2559)
- พระราชกรณียกิจด้านการเกษตร พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงให้ความสำคัญกับอาชีพเกษตรกรรม ซึ่งเป็นอาชีพหลักของประชาชนชาวไทย มีโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่ได้พระราชทานให้กับราษฎรครอบคลุมตั้งแต่การจัดหาและพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเพาะปลูก การเลี้ยงสัตว์ การอุปโภค บริโภค เช่น คลินิกเกษตรเคลื่อนที่ โครงการเกษตรวิชญา และการสืบสานงานพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ