เรียนรู้วิถีชุมชนกับ น้องประถม ร.ร. บีคอนเฮาส์ แย้มสอาดรังสิต
เรียนรู้วิถีชุมชนกับ น้องประถม ร.ร. บีคอนเฮาส์ แย้มสอาดรังสิต
กิจกรรม ท่องเที่ยวสุขสันต์ที่พิพิธภัณฑ์เกษตรฯ สุข สนุก มีสาระ กับหลักสูตร "การทำบ้านดิน" วันเสาร์ที่ 9 มิถุนายน 2561(หลักสูตร 1 วัน) ตั้งแต่เวลา 10.00 – 14.00 น. ณ พิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ สอบถามโทร. 087-359-7171 และ 094-649-2333 www.wisdomking.or.th
สมัครได้ที่นี่ >>คลิก<<
เรียนรู้วิถีชุมชนกับ น้องประถม ร.ร. บีคอนเฮาส์ แย้มสอาดรังสิต
วันจันทร์ที่ 4 ธันวาคม 2566 พลอากาศเอก เสนาะ พรรณพิกุล ผู้อำนวยการสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมผู้บริหาร ให้การต้อนรับ คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่จากสำนักงบประมาณ กรุงเทพฯ เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ ปทุมธานี แหล่งเรียนรู้พระเกียรติคุณ และพระอัจฉริยภาพกษัตริย์เกษตร บนพื้นที่ 374 ไร่ โดยเริ่มจากพิพิธภัณฑ์ภายในอาคาร พิพิธภัณฑ์ในหลวงรักเรา เรียนรู้พระราชประวัติ พระเกียรติคุณ พระอัจฉริยภาพ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์ด้านการเกษตร เรียนรู้หลักการทรงงาน ทั้ง 27 ข้อในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โซนวิถีเกษตรของพ่อ พระอัจฉริยภาพด้านการจัดการ ดิน น้ำ ป่า คน ผ่านโครงการต่างๆ โซนตลาดเก่าชาวเกษตร ถ่ายทอดเรื่องราววิถีชีวิตวิวัฒนาการด้านการเกษตรตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน รับชมพิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง ฐานการเรียนรู้นวัตกรรมเกษตรตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง การใช้ประโยชน์ในพื้นที่ขนาดเล็ก เพื่อการพึ่งพาตนเอง และเข้าร่วมรับชมนิทรรศการภายในงาน มหกรรมภูมิพลังแผ่นดิน ที่จัดขึ้นในช่วงระหว่างวันที่ 2 – 5 ธันวาคม 2566 และรับชมนิทรรศการขุมทรัพย์แห่งแผ่นดิน พร้อมภาพยนตร์แอนิเมชัน 7 มิติ ก่อนเดินทางกลับ
วันพฤหัสบดีที่ 23 พฤษภาคม 2567 พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ต้อนรับคณะคุณครู และน้องๆ จากโรงเรียนอนุราชประสิทธิ์ จ.นนทบุรี เข้าร่วมทำกิจกรรมในหลักสูตร "ตามรอยพ่อ" จัดเต็มในการเรียนรู้และทำกิจกรรมระยะเวลา 2 ชั่วโมง โดยพี่ๆวิทยากรได้แบ่งกลุ่มให้น้องๆ เรียนรู้พร้อมทำกิจกรรม เริ่มด้วยการผจญภัยผ่านป่ากลางวันและป่ากลางคืน พร้อมส่องสิ่งมีชีวิตที่อาศัยร่วมกันต่างช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน และเรียนรู้ถึงการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติ ภายในพิพิธภัณฑ์ป่าดงพงไพร ต่อด้วยเข้าชมภาพยนตร์ 3 มิติ “เรื่องของพ่อในบ้านของเรา” ที่ได้เห็นถึงการทรงงานของในหลวงรัชกาลที่ 9 ตลอดระยะเวลา 70 ปี ที่พระองค์ทรงงานพร้อมคิดค้นโครงการต่างๆมากมายให้แก่ประชาชนคนไทย ปิดท้ายกิจกรรมสร้างสรรค์ความคิด สะท้อนเรื่องการทำงานด้วยกัน การช่วยเหลือกัน การวางแผน ในกิจกรรมรากฐานแห่งความมั่นคง ที่สอดแทรกเรื่องหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งน้องๆต่ างสนุกสนานและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม หน่วยงานใดที่สนใจเข้าร่วมเรียนรู้ในรูปแบบหมู่คณะ สามารถดูหลักสูตรต่างๆได้ที่ https://www.wisdomking.or.th/th/course-event สอบถามรายละเอียด 02-529-2212 094-649-2333 087-359-7171 หรือ www.wisdomking.or.th facebook: wisdomkingmuseum และ Line ID: @wisdomkingmuseum
วันพฤหัสบดีที่ 9 พฤศจิกายน 2566 พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขอขอบคุณคณะเข้าชมจากโรงเรียนชุมชนวัดโขดเขมาราม (ประชาประเสริฐ) จ.พระนครศรีอยุธยา โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย จ.กรุงเทพฯ เข้าร่วมโครงการส่งเสริมการเรียนรู้เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง ผ่านหลักสูตร “ตามรอยพ่อ” และหลักสูตร “เกษตรสร้างสรรค์” เรียนรู้พระเกียรติคุณ และพระอัจฉริยภาพของพระมหากษัตริย์ไทยด้านการเกษตร ผ่านทฤษฎีและลงมือปฏิบัติ พร้อมสนุกเพลิดเพลินกับกิจกรรมสร้างสรรค์ความคิดและภาพยนตร์ 3 มิติ ในวันเดียวกันคณะจากศูนย์ป้องกันภัยทางอากาศกองทัพบกที่ 1 ประจำพื้นที่ภาคกลาง จ.พระนครศรีอยุธยา เข้าร่วมทำกิจกรรมกับพิพิธภัณฑ์การเกษตรฯ เข้าชมและเรียนรู้พระอัจฉริยภาพด้านการจัดการดิน น้ำ ป่า คน จากในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่จัดแสดงภายในพิพิธภัณฑ์ในหลวงรักเรา และเรียนรู้ผ่านเส้นทางการเรียนรู้พิธภัณฑ์กลางแจ้งบนพื้นที่ 374 ไร่ หน่วยงานใดที่สนใจเข้าร่วมเรียนรู้ในรูปแบบหมู่คณะ สามารถดูหลักสูตรต่างๆได้ที่ https://www.wisdomking.or.th/th/course-eventสอบถามรายละเอียด 02-529-2212 094-649-2333 087-359-7171 หรือ www.wisdomking.or.th facebook/ InstagramID: wisdomkingmuseum และ Line ID: @wisdomkingmuseum
มาสนุกกับการทำนาโยนกล้า ฝึกการพึ่งพาตนเองด้านอาหารที่พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ กับน้องๆ จากโรงเรียนสองภาษาลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร ในหลักสูตรการเรียนรู้วิถีเกษตรของพ่อ โดยเข้าชมฐานการเรียนรู้ 1 ไร่ พอเพียง พื้นที่ต้นแบบการทำเกษตรพอเพียงที่สามารถบริหารจัดการทรัพยากรจำกัดได้อย่างคุ้มค่า เรียนรู้วิถีชีวิตของคนไทย 4 ภาคจากบ้านเรือนไทยซึ่งสะท้อนเอกลักษณ์ของภูมิภาคต่างๆ ผ่านที่พักอาศัยในฐานการเรียนรู้วิถีเกษตรไทย 4 ภาค จากนั้นไปสนุกกับการทำนาโยนกล้า หนึ่งในหลายๆ วิธีการทำนาที่ช่วยประหยัดทั้งเวลาและต้นทุนการผลิตในระยะยาว ต่อด้วยการเข้าชมและเรียนรู้ความหลากหลายของเมล็ดพันธุ์นานาชนิดกว่า 400 สายพันธุ์ในพิพิธภัณฑ์มหัศจรรย์พันธุกรรม พร้อมเข้าไปผจญภัยในโลกของธรรมชาติเรียนรู้วัฐจักรชีวิตที่ต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันในพิพิธภัณฑ์ป่าดงพงไพร และสนุกกับการชมภาพยนตร์การ์ตูนแอนิเมชั่น 3 มิติ เรื่องไผ่รวกกับทานตะวันผู้ยโส ซึ่งนำเสนอเรื่องของความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ทุกคนต้องช่วยกันรักษาดูแล
วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน 2567 พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ ปทุมธานี ต้อนรับ 4 หน่วยงาน ได้แก่ โรงเรียนบ้านกล้วย (พวงราษฎร์บำรุง) จ.ลพบุรี ในหลักสูตร “เกษตรสร้างสรรค์” สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี กรงุเทพฯ หลักสูตร “ตามรอยพ่อ” โรงเรียนมัธยมวัดป่ามะไฟ จ.ปราจีนบุรี หลักสูตร “นวัตกรรมของพ่อ” และโรงเรียนเทศบาลหินกอง จ.สระบุรี หลักสูตร “ตามรอยพ่อ” เข้าร่วมทำกิจกรรมภายใต้โครงการส่งเสริมการเรียนรู้เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง ทั้งเข้าชมพิพิธภัณฑ์ในหลวงรักเรา จัดแสดงพระเกียรติคุณและพระอัจฉริยภาพของพระมหากษัตริย์ไทย ด้านการเกษตร ทรงคิดค้นแก้ปัญหาดิน น้ำ ป่า คน สะท้อนถึงวีถีชีวิตความเป็นอยู่ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ต่อด้วยเข้าชมพิพิธภัณฑ์มหัศจรรย์พันธุกรรม เดินตามรอยเจ้าฟ้านักอนุรักษ์ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารีฯ ในการดูแลอนุรักษ์พันธุกรรมพืชในประเทศไทย เพื่อส่งต่อให้กับคนรุ่นหลัง พร้อมเรียนรู้ถึงการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในพิพิธภัณฑ์ป่าดงพงไพร นอกจากนี้เข้าชมฐานการเรียนรู้พิพิธภัณฑ์กลางแจ้งเส้นทางนวัตกรรมเกษตรเศรษฐกิจพอเพียง จัดแสดงการทำเกษตรพึ่งตนเองที่สามารถนำไปประยุกต์ให้สอดคล้องกับตนเอง พร้อมลงมือปฏิบัติ ฝึกทักษะกระบวนการคิด การทำงานร่วมกันในกิจกรรมสร้างสรรค์ความคิด สำหรับคณะสถาบันการศึกษา หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ที่ต้องการเข้าชมในรูปแบบหมู่คณะ สามารถดูรายละเอียดหลักสูตรต่างๆ เพิ่มเติมได้ที่ https://www.wisdomking.or.th/th/course-event สอบถามรายละเอียด 02-529-2212 094-649-2333 087-359-7171 หรือ www.wisdomking.or.th facebook/ และ Line ID: @wisdomkingmuseum