เกษตรกรยุคใหม่ ใส่ใจเทคโนโลยี
เกษตรกรยุคใหม่ ใส่ใจเทคโนโลยี
พิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ เชิญเที่ยวงานมหกรรมสนองพระราชปณิธาน กษัตริย์เกษตร วันที่ 6-7-8 กรกฎาคม 2561 ตั้งแต่เวลา 08.00 - 20.00 น. เรียนรู้เรื่องวิชาของแผ่นดิน และอบรมเชิงปฏิบัติการ 30 หลักสูตร สอบถามรายละเอียดได้ที่ พิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ โทรศัพท์ 02-529-2212-13 094-649-2333,087-359-7171 www.wisdomking.or.th LineID @wisdomkingfan
เกษตรกรยุคใหม่ ใส่ใจเทคโนโลยี
วันพฤหัสบดีที่ 9 พฤษภาคม 2567 พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ต้อนรับคณะจากวิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต จ.ปทุมธานี โดยทางคณะเข้าชมพิพิธภัณฑ์ในหลวงรักเรา (ในรูปแบบวิทยากร) ซึ่งพี่วิทยากรได้พาน้องนักศึกษา และอาจารย์เข้าชมนิทรรศการและเรียนรู้พระราชประวัติ พระเกียรติคุณ พระอัจฉริยภาพของในหลวงรัชกาลที่ 9 ด้านการเกษตร ผ่านการจัดการดิน น้ำ ป่า คน ให้แก่ประชาชนคนไทย เพราะการเกษตรถือเป็นรากฐานสำคัญของประเทศไทย พระองค์จึงทรงงานเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ พร้อมทั้งยังมีโครงการต่างๆ ที่เกิดขึ้นเพื่อแก้ปัญหาในด้านการเกษตรให้กับประชาชนได้เรียนรู้สู่การประยุกต์ใช้จริง นอกจากนี้ทางคณะยังได้สนุกไปกับชมภาพยนตร์แอนิเมชัน 3 มิติ ของพิพิธภัณฑ์การเกษตรฯ เรื่องของพ่อในบ้านของเรา ก่อนเดินทางกลับ หน่วยงานใดที่สนใจเข้าร่วมเรียนรู้ในรูปแบบหมู่คณะ สามารถดูหลักสูตรต่างๆได้ที่ https://www.wisdomking.or.th/th/course-event สอบถามรายละเอียด 02-529-2212 094-649-2333 087-359-7171 หรือ www.wisdomking.or.th facebook: wisdomkingmuseum และ Line ID: @wisdomkingmuseum
ต้อนรับคณะผู้แทนจากเวที GSSD Expo 2022 เข้าเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการเกษตร
วันที่ 2 เมษายน 2568 พิพิธภัณฑ์การเกษตรฯ ปทุมธานี ต้อนรับคณะสถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่นร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำข้าราชการท้องถิ่น ระดับชำนาญการพิเศษ เข้าร่วมโครงการส่งเสริมการเรียนรู้เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง ในหลักสูตร “ตามรอยพ่อ” ซึ่งวันนี้ทางคณะ ได้เข้าชมผ่านนิทรรศการวิถีเกษตรของพ่อ นิทรรศการหลักการทรงงาน นิทรรศการที่เล่าถึงหลักการที่ในหลวง รัชกาลที่ 9 ทรงใช้และทรงปฏิบัติอยู่เป็นประจำในการทรงงาน พร้อมกับสนุกสนานกับบรรยากาศย้อนยุคไปของชุมชนเกษตรในอดีตในนิทรรศการ ตลาดเก่าชาวเกษตร ต่อด้วยเข้าชมภาพยนตร์การ์ตูนแอนิเมชัน 3 มิติ “เรื่องของพ่อในบ้านของเรา” ภายในพิพิธภัณฑ์ในหลวงรักเรา ก่อนเดินทางกลับ หน่วยงานใดที่สนใจเข้าร่วมเรียนรู้ในรูปแบบหมู่คณะ สามารถดูหลักสูตรต่างๆได้ที่ https://www.wisdomking.or.th/views/course/
สนุกกับการเรียนรู้ทรัพยากรดิน ความสำคัญของดินกับสิ่งมีชีวิตใต้ดินรวมไปถึงทรัพยากรป่าไม้ ไปพร้อมกับน้องชั้นอนุบาลจากโรงเรียนอนุบาลแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จ.ปทุมธานี ผ่านโครงการส่งเสริมการเรียนรู้เกษตรเศรษฐกิจกพอเพียง ในหลักสูตรการเรียนรู้ ตามรอยพ่อ ด้วยการเข้าชมและเรียนรู้คุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญต่อมนุษย์และสิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่ดำรงและอาศัยอยู่ในโลกใบนี้ภายในพิพิธภัณฑ์ในอาคาร โดยครั้งนี้น้องๆ ได้เข้าไปผจญภัยยังโลกใต้ดิน เพื่อค้นความลับของสิ่งมีชีวิตใต้พิภพที่คอยช่วยสร้างความอุดมสมบูรณ์ให้กับดินภายในพิพิธภัณฑ์ดินดล จากนั้นพากันเข้าไปผจญภัยภายในป่าเพื่อศึกษาระบบนิเวศวิเวศและการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตน้อยใหญ่ในป่าประเภทต่างๆ ของไทยทั้งในตอนกลางวันและตอนกลางคืนที่พิพิธภัณฑ์ป่าดงพงไพร ก่อนที่จะไปปิดท้ายกิจกรรมการเรียนรู้ในครั้งนี้กันที่โรงภาพยนตร์กษัตริย์เกษตร เติมความสุข สนุกในครั้งนี้ด้วยภาพยนตร์การ์ตูนแอนิเมชั่น 3 มิติ เรื่อง แผ่นดินของเรา
วันที่ 17 มิถุนายน 2566 พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ ปทุมธานี ต้อนรับ ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ ผู้นำชุมชน และประชาชน จากสำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อเหล็กลอง จ.แพร่ เข้ามาร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการเรียนรู้ผ่านโครงการส่งเสริมการเรียนรู้เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง หลักสูตร พอดีพอเพียง ซึ่งทางคณะได้เลือกกิจกรรมการเรียนรู้การทำเกษตรพึ่งพาตนเองมาทั้งสิ้น 4 กิจกรรม ประกอบด้วย การเข้าชมภาพยนตร์แอนิเมชัน 3 มิติ "เรื่องทรัพย์ดินสินน้ำ" เข้าชมพิพิธภัณฑ์ในหลวงรักเรา เรียนรู้พระราชประวัติ พระเกียรติคุณ และพระอัจฉริยภาพ ผ่านโซนนิทรรศการหลักการทรงงานและวิถีเกษตรของพ่อ และฝึกลงมือปฏิบัติจริงที่พิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง ผ่านฐานการเรียนรู้วิถีเกษตรไทย 4 ภาค ฐานเรียนรู้ 1 ไร่พอเพียง จากนั้นลงมือปฏิบัติการเพาะเห็ดฟางในตะกร้า ก่อนเดินทางกลับ สำหรับหน่วยงานใดสนใจเข้าเรียนรู้ผ่านหลักสูตรดีๆแบบนี้ สามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.wisdomking.or.th/th/course-event หรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 02 - 529 - 2212 , 094 – 649 -2333, 087-359-7171 ติดตามข้อมูลเพิ่มเติม www.wisdomking.or.th facebook/ InstagramID: wisdomkingmuseum และ Line ID: @wisdomkingmuseum