พกฉ. จัดประชุมคณะกรรมการตรวจสอบ ครั้งที่ 1/2564
พกฉ. จัดประชุมคณะกรรมการตรวจสอบ ครั้งที่ 1/2564
พกฉ. จัดประชุมคณะกรรมการตรวจสอบ ครั้งที่ 1/2564
มาเรียน มารู้ มาดู มาทำ มาร่วมกันเดินตามปรัชญาแห่งความพอเพียง ในหลวง รัชกาลที่ 9 ที่พิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ กับน้องๆ จากมูลนิธิ ซี.ซี.เอฟ. เพื่อเด็กและเยาวชน ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ผ่านโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ “สุข สนุก เรียนรู้ชัด ปฏิบัติได้จริง” หลักสูตรตามรอยพ่อ กษัตริย์ เกษตร เศรษฐกิจพอเพียง ตลอดทั้งวัน โดยในวันนี้น้องๆ ทุกคนได้ร่วมเรียนรู้การทำเกษตรผสมผสานทั้งในภาคทฤษฎีและปฏิบัติกับพี่ๆ วิทยากรมากความสามารถ เริ่มต้นเรียนรู้ทฤษฎีการทำเกษตรจากการเดินชมแปลงเกษตรผสมผสานในเนื้อที่ 1 ไร่ ฐานการเรียนรู้ “1 ไร่ พอเพียง” ที่นำองค์ความรู้เรื่องการจัดการพื้นที่ที่มีอยู่จำกัดให้เหมาะสมกับการทำเกษตรโดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พร้อมกับชมบ้านดินรูปแบบต่างๆ ในฐานการเรียนรู้ “บ้านดิน บ้านฟาง” เรียนรู้แนวคิดการสร้างบ้านจากดินที่มีอยู่ในพื้นที่ เพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการสร้างที่พักอาศัยจากวัสดุที่หาง่ายในท้องถิ่นอีกทั้งยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้ออุปกรณ์เพื่อใช้ในการสร้างบ้าน ลงมือฝึกปฏิบัติการเพาะเห็ดฟางในตะกร้าโดยเริ่มต้นตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียมฟางข้าวตลอดจนเทคนิคการกำหนดสีของดอกเห็ดฟางที่จะเกิดขึ้น ส่วนช่วงบ่ายน้องๆ ได้สนุกกับการชมภาพยนตร์แอนิเมชั่น 3 มิติ เรื่อง “ไผ่รวกกับทานตะวันผู้ยโส” เรื่องราวของพืชสองชนิดที่มีวิถีการใช้ชีวิตแตกต่างกัน เสริมสร้างกระบวนการคิดและการทำงานร่วมกันกับผู้อื่นพร้อมกับเรียนรู้ข้อคิดดีๆ ในเรื่องการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปปรับใช้กับชีวิตประจำวันจากกิจกรรมสร้างสรรค์ความคิด “รากฐานแห่งความมั่นคง” ศึกษาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้ลึกซึ่งยิ่งขึ้นจากการชมนิทรรศการ “ตามรอยพ่ออยู่อย่างพอเพียง” เดินตามรอยความพอเพียงของปราชญ์เกษตรผู้น้อมนำคำสอนของในหลวง รัชกาลที่ 9 มาใช้กับตนเองและครอบครัว ในโซนนิทรรศการ “น้อมนำคำพ่อสอน” และสนุกกับวิถีชีวิตของคนในชุมชนตลาดเก่าในโซนนิทรรศการ “ตลาดเก่าชาวเกษตร”ภายในพิพิธภัณฑ์ในหลวงรักเรา
วันศุกร์ที่ 29 กันยายน 2566 เวลา 13.30 น. พลอากาศเอก เสนาะ พรรณพิกุล ผู้อำนวยการสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เข้ารับรางวัลยกย่องเชิดชูเกียรติพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ดีเด่น ประจำปี 2566 ประเภทรางวัล พิพิธภัณฑ์ไทยสรรเสริญ โดยได้รับเกียรติจากนางยุถิกา อิศรางกูร ณ อยุธยา รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เป็นผู้มอบรางวัล ณ ห้องประชุม ชั้น 7 อาคารชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งประเทศไทย จังหวัดนนทบุรีทั้งนี้รางวัลยกย่องเชิดชูเกียรติพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ดีเด่น ประจำปี 2566 จัดขึ้นโดยสมาคมพิพิธภัณฑ์ไทย เป็นรางวัลที่มอบให้กับพิพิธภัณฑ์ที่ได้รับการประเมินพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้เพื่อเป็นต้นแบบในการพัฒนาการเรียนรู้ของประชาคมโลกอย่างยั่งยืน
วันศุกร์ ที่ 27 เมษายน 2561 พิพิธภัณฑ์การเกษตรฯ ปทุมธานี เปิดพิพิธภัณฑ์ต้อนรับน้องๆนักศึกษาจาก คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต นักศึกษาชั้นปีที่ 2 และ3 เรียนรู้กระบวนการ สุข สนุก เรียนรู้ชัด ปฏิบัติได้จริง ผ่านหลักสูตร 7 "ตามรอยพ่อ กษัตริย์เกษตรฯ" สนุก มีสาระ กับกิจกรรมมากมาย อาทิ ชมภาพยนตร์ 3 มิติ"เรื่องของพ่อในบ้านของเรา" เรียนรู้ผ่านเทคโนโลยีที่ทันสมัย เข้าใจง่ายส่งเสริมกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบด้วยกิจกรรมสร้างสรรค์ความคิด "รากฐานแห่งความมั่นคง" ตามรอยเจ้าฟ้านักอนุรักษ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารีฯเรียนรู้สถานการณ์การสูญพันธุ์ของพืช สู่ความสำคัญของการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชตามนิเวศน์ สนุก ตื่นเต้น ด้วยการลงมือปฏิบัติ เรียนรู้และลงมือทำนาดำ นาโยนกล้า สร้างความสุขด้วยวิถีเกษตร สร้างประสบการณ์เรียนรู้สิ่งใหม่ เหมือนหนึ่งตอนในบทสัมภาษณ์ “…รู้สึกประทับใจมากๆค่ะ เป็นธรรมชาติพิธีกรให้ความรู้ตลอด ชื่นชอบกิจกรรมทำนาดำและนาโยนกล้า ทำให้ได้รู้ว่ากว่าจะได้ข้าวแต่ละเม็ด มันยาก อยากจะให้มาลองดู สิ่งที่เราเรียนรู้สามารถนำไปปรับใช้ได้ อย่างเช่นการทำนางี้ เราไม่เคยทำ พอได้ทำเราก็จะรู้คุณค่ามากขึ้นค่ะ” เสียงสะท้อนจากน้องดาว นวรัตน์ กองดวง นักศึกษาชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ”
วันที่ 15 กันยายน 2566 เวลา 09.00 น. พลอากาศเอก เสนาะ พรรณพิกุล ผู้อำนวยการสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มอบหมายให้ นางสาวสำเภาว์ งามเชย รองผู้อำนวยการ ฝ่ายพัฒนา เข้าร่วมกิจกรรมวันศิลป์ พีระศรี ประจำปี 2566 เนื่องในโอกาส 131 ปี ศิลป์ พีระศรี เพื่อน้อมรำลึกถึงคุณูปการของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ที่มีต่อการวางรากฐานการศึกษาศิลปะในประเทศไทย และการก่อตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากร จัดขึ้น ณ อาคารนิทรรศการถาวร พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป กรุงเทพฯ
วันพุธที่ 13 มีนาคม 2567 พลอากาศเอก เสนาะ พรรณพิกุล ผู้อำนวยการสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มอบหมายให้ นางสาวสมพิศ วงศ์ปัญญา รองผู้อำนวยการ ฝ่ายบริหาร เข้าร่วมงานแถลงข่าวเปิดหลักสูตรวิทยาการเกษตรระดับสูง (วกส.) รุ่นที่ 5 โดยมี ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธาน และมีนายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายอนันต์ สุวรรณรัตน์ ผู้อำนวยการหลักสูตรวิทยาการเกษตรระดับสูง (วกส.) ดร.วิชาญ อิงศรีสว่าง ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.) และนายเศรษฐเกียรติ กระจ่างวงษ์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วยคณะผู้บริหารจากหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เข้าร่วมการแถลงข่าว ณ ห้อง 115 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรุงเทพฯ ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เล็งเห็นโอกาสและให้ความสำคัญในการพัฒนาภาคการเกษตรไทย โดยอาศัยกลไกความร่วมมือจากหน่วยงานทุกภาคส่วน จึงได้จัดทำหลักสูตรเพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนภาคการเกษตรไทยให้เป็นผู้นำในระดับนานาชาติด้วยวิทยาการเกษตร เทคโนโลยี และนวัตกรรมสมัยใหม่ ภายใต้หลักการตลาดนำการผลิตและเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อสร้างความสมดุล มั่นคง และยั่งยืน โดยมีเป้าหมายในการพัฒนาศักยภาพและสร้างผู้นำระดับสูงให้มีความรู้ ความสามารถในการพัฒนาการเกษตร รวมทั้งก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ วิสัยทัศน์ และประสบการณ์ระหว่างผู้นำภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนในรูปแบบ “ประชารัฐ” เพื่อมุ่งสู่การทำเกษตรวิถีใหม่ หลักสูตรวิทยาการเกษตรระดับสูง หรือ วกส. จึงเป็นเวทีแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นร่วมกันระหว่างเกษตรกร ผู้บริหารระดับสูงทั้งจากภาครัฐ และเอกชน โดยมีเป้าหมายร่วมกัน คือ สร้างเครือข่ายธุรกิจด้านการเกษตรในระยะยาว และการยกระดับและพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของพี่น้องเกษตรกรให้ดียิ่งขึ้น รวมทั้งกระตุ้นการสร้างเศรษฐกิจรากฐานให้มีความเข้มแข็ง พร้อมทั้งส่งเสริมบทบาทของประเทศไทยในฐานะผู้ผลิตและส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารชั้นนำ ส่งผลต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมด้านการเกษตรของประเทศ ทั้งนี้ การขับเคลื่อนดังกล่าวจำเป็นต้องอาศัยเครือข่ายความร่วมมือ และการประสานงานร่วมกันระหว่างภาคีหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และเกษตรกรเพื่อเป้าหมายในการขับเคลื่อนภาคการเกษตรไทยให้เป็นผู้นำในระดับนานาชาติ รวมทั้งเครือข่ายความร่วมมือระหว่างผู้เข้าร่วมการฝึกอบรม