โครงการสืบสานปันรู้ สู่ความพอเพียง
โครงการสืบสานปันรู้ สู่ความพอเพียง
สำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน) จัดประชุมคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนนโยบายและการดำเนินงานของสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน) ครั้งที่ 3/2566 โดยมีนายสุวรรณ บูราพรนุสรณ์ เป็นประธานการประชุม ในวันพุธที่ 19 เมษายน 2566 เวลา 09.30 น. ณ ห้องประชุมอาคารเฉลิมพระเกียรติฯ 1 สำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรฯ ปทุมธานี โดยมีรายละเอียดการประชุม ดังนี้
ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
ระเบียบวาระที่ 2 เรื่องรับรองรายงานการประชุมคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนและการดำเนินงานของสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน) ครั้งที่ 2/2566
ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องสืบเนื่องเพื่อทราบ
3.1 รายงานต้นทุน กำไรเบื้องต้น ภารกิจด้านการจัดหารายได้ของสำนักพัฒนากิจการ ปีงบประมาณ พ.ศ.2566
ระเบียบวาระที่ 4 เรื่องเพื่อทราบ
4.1 รายงานผลการดำเนินงาน และผลการใช้จ่ายเงินตามแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน) ไตรมาส 2 ณ วันที่ 31 มีนาคม 2566
4.2 รายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการดิจิทัล ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ของสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน) ไตรมาส 2 ณ วันที่ 31 มีนาคม 2566
ระเบียบวาระที่ 5 เรื่องเพื่อพิจารณา
5.1 โครงการพัฒนาพื้นที่พิพิธภัณฑ์กลางแจ้งสนองพระราชปณิธาน
5.2 โครงการประชาสัมพันธ์ยุคใหม่
ระเบียบวาระที่ 6 เรื่องอื่นๆ (ถ้ามี)
โครงการสืบสานปันรู้ สู่ความพอเพียง
วันที่ 30 มกราคม 2568 สำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน) จัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีสมมงคล พระชนมายุ 26,469 วันเท่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สมเด็จพระปฐมบรมกษัตริยาธิราชแห่งพระราชวงศ์จักรี วันที่ 14 มกราคม 2568 โดยมี พันจ่าเอก ประเสริฐ มาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นำคณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่สำนักงานฯ ร่วมปลูกต้นขนุน พันธุ์ทองประเสริฐ และปรับปรุงภูมิทัศน์ ป่าอนุรักษ์พันธุกรรมพืช 16 ไร่ ณ สำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรฯ อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี
โรงเรียนนครรังสิต สิริเวชพันธ์ จ.ปทุมธานี และโรงเรียนไตรราชวิทยา จ.อยุธยา เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์การเกษตรฯ ในวันอังคาร ที่ 14 สิงหาคม 2561 สนุกสนานผ่านการลงมือปฏิบัติ เลอะโคลนเปื้อนรอยยิ้ม จารึกเป็นประสบการณ์การทำนาครั้งแรกของน้องๆอนุบาลที่เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติในอนาคต มือน้อยๆของน้องๆช่วยกันปลูกผักบนพื้นปูน ตื่นตา ตื่นใจ เดินชมผักนานาชนิดที่เด็กๆไม่เคยรู้มาก่อนเลยว่ามันกินได้ เรียนรู้ภายในพิพิธภัณฑ์ในหลวงรักเรา ชมตลาดเก่าชาวเกษตร พบกับสินค้า ร้านขายของมากมายในอดีต เรียนรู้ความสำคัญของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผ่านพิพิธภัณฑ์ป่าดงพงไพร ปิดท้ายกิจกรรมแสนสนุกด้วยการ์ตูนแอนิเมชั่น 3 มิติ เรื่องไผ่รวกกับทานตะวันผู้ยโส เนื้อเรื่องจากบทพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
วันที่ 30 เมษายน 2567 เวลา 15.00 น. พลอากาศเอก เสนาะ พรรณพิกุล ผู้อำนวยการสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการปลูกจิตสำนึกให้เจ้าหน้าที่มีความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปลูกฝังและสร้างจิตสำนึกสาธารณะให้กับผู้เข้าร่วมโครงการจิตอาสา ขัดเกลาจิตใจให้เห็นคุณค่าของการช่วยเหลือผู้อื่น โดยมีผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ สำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรฯ เข้าร่วมอย่างพร้อมเพรียงกัน ณ ห้องประชุม 5/1 อาคารเฉลิมพระเกียรติฯ 5 สำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี
พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ จ.ปทุมธานี จัดงานตลาดเศรษฐกิจพอเพียงนวัตกรรมทำเอง ระหว่างวันที่ 4 – 5 มีนาคม 2566 เอาใจสายประดิษฐ์ ยกนวัตกรรมเกษตรที่สามารถทำได้เอง ตามวิถีคนยุคใหม่ จัดเต็มกับการอบรมวิชาของแผ่นดิน และอบรมเชิงปฏิบัติการ ชม ช้อป จุใจกับ ตลาดเศรษฐกิจพอเพียง ราคามิตรภาพ ณ พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ ปทุมธานี หรือรับชมภาพบรรยากาศงาน ผ่านช่องทางออนไลน์ Facebook พิพิธภัณฑ์การเกษตรฯ พลอากาศเอก เสนาะ พรรณพิกุล ผู้อำนวยการสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เปิดเผยว่า “พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ เตรียมจัดงาน ตลาดเศรษฐกิจพอเพียง นวัตกรรมทำเอง เพื่อแบ่งปันองค์ความรู้ และนวัตกรรมด้านการเกษตรให้กับผู้ที่สนใจ ภายในงานมีการจัดอบรมให้ความรู้ แชร์ประสบการณ์จากเกษตรกรผู้ปฏิบัติจริง พร้อมตลาดเศรษฐกิจพอเพียง จำหน่ายสินค้าที่มาจากเครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตรฯ และภาคีความร่วมมือจาก 4 ภูมิภาค เพื่อให้ เกิดแรงบันดาลใจ และจุดประกายความคิดในการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ ให้เหมาะสมกับตนเอง ขณะเดียวกันทุกท่านจะเป็นส่วนสำคัญในการสืบสาน รักษา และต่อยอดเกษตรเศรษฐกิจพอเพียง” จากผลสำรวจของศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและพยากรณ์ทางการเกษตร ปี 2564 พบว่าคนไทย ร้อยละ 41.51 มีความสนใจในการทำเกษตรเป็นอาชีพเสริม เพื่อลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน มีคลังอาหารที่ปลอดภัยสำหรับคนในครอบครัว เพื่อเป็นอีกหนึ่งพื้นที่การเรียนรู้สำหรับเกษตรกรมือใหม่ และผู้ที่มีความสนใจ ทำการเกษตรเป็นอาชีพเสริมในอนาคต การจัดงานตลาดเศรษฐกิจพอเพียงในครั้งนี้ ทางพิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ จึงได้นำเรื่องราวนวัตกรรมเกษตรสำหรับประชาชนสามารถมาศึกษาและนำความรู้ ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้จริงที่สามารถทำเองได้ ช่วยลดค่าใช้จ่าย อาทิ 1.นวัตกรรม IOT 2.การปลูกพืชด้วยแสงสังเคราะห์ 3.ระบบการให้อาหารปลาอัจฉริยะ 4.เตาเผาถ่านซุปเปอร์ซันแบบไร้ควัน 5.นวัตกรรมแปลงผักคีย์โฮล 6.จักรยานสูบน้ำ 7.ระบบสูบน้ำแบบเท้าเหยียบ 8.แปลงผักประหยัดน้ำหลากหลายรูปแบบ เท่านั้นยังไม่พอใครที่เป็นสายเรียนรู้ ชวนมาจับเข่าพูดคุยกับ 2 เครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตรฯ ตัวแทนเกษตรกรยุคใหม่ ได้แก่ อาจารย์โอ๋ นิรันดร์ สมพงษ์ เครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตรฯ จังหวัดนครราชสีมา กูรูมือหนึ่งด้าน Smart Farm IOT มาแชร์องค์ความรู้เรื่องของการประยุกต์ใช้งาน IOT เพื่อการเกษตร และการใช้พลังงานทดแทนอย่างโซลาเซลล์ พร้อมด้วย อาจารย์ลูกโป่ง จีระนันทน์ พุ่มเรือง เครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตรฯ จังหวัดนครนายก จากฟาร์มเห็ดยายฉิม ที่จะมาถ่ายทอดองค์ความรู้ การเพาะเห็ด นวัตกรรมการแปรรูปเห็ด เพิ่มมูลค่าแบบครบวงจร สำหรับหลักสูตรการอบรมวิชาของแผ่นดินและอบรมเชิงปฏิบัติการ เตรียมพบกับหลักสูตรนวัตกรรมโซลาเซลล์กับการเกษตร ปูพื้นฐานองค์ความรู้โซลาเซลล์ พร้อมการนำไปใช้กับภาคการเกษตร และหลักสูตรน้ำมันหอมระเหยจากสมุนไพร เทคนิคการผลิตน้ำมันหอมระเหยอย่างง่าย ต่อยอดสร้างผลิตภัณฑ์ทำรายได้ โดยอาจารย์คมสัน หุตะแพทย์ ชุมชนนิเวศสันติวนา กรุงเทพฯ หลักสูตรปลูกผักสไตล์ฅนเมือง ปฏิวัติกระบวนการผลิตผัก ให้เหมาะกับพื้นที่ของคนเมือง โดยอาจารย์สุเทพ กุลศรี ศูนย์เรียนรู้และพัฒนานวัตกรรมการเกษตร จ.ปทุมธานี หลักสูตรสวนเกษตรผสมผสาน ปันสุข เปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาส เปลี่ยนความผิดพลาดเป็นความสุขที่ยั่งยืน โดยอาจารย์ธนพร โพธิ์มั่น ศูนย์เรียนรู้เกษตรปลอดสาร อาหารปลอดภัย จ.ปทุมธานี หลักสูตร Smart Farm IOT และหลักสูตรวิธีสร้าง Smart Farm IOT เรียนรู้แนวคิดการยกระดับฟาร์มเกษตรทั่วไป ให้เป็นฟาร์มเกษตรอัจฉริยะ และการใช้แอพพลิเคชั่น และฝึกต่อวงจร IOT เพื่อใช้กับ Smart Farm โดยอาจารย์นิรันดร์ สมพงษ์ ประธานศูนย์การเรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.นครราชสีมา สายของกินต้องไม่พลาดกับหลักสูตรพิซซ่าหน้าเห็ด แปรรูปเห็ดเป็นอาหารว่าง มีประโยชน์ อร่อยทุกคำ ทานได้ทุกวัย โดยอาจารย์ธนพร โพธิ์มั่น ศูนย์เรียนรู้เกษตรปลอดสาร อาหารปลอดภัย จ.ปทุมธานี และหลักสูตรสบู่อ่อนกำจัดแมลงศัตรูพืช แปรรูปน้ำมันพืชใช้แล้วในครัว เป็นผลิตภัณฑ์กำจัดแมลงศัตรูพืช โดยอาจารย์เพชรรุ่ง พุกกะเวช เครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตรฯ จ.จันทบุรี เรียนรู้ฟรีกับเกษตรกรตัวจริงเสียงจริงที่มาถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการเกษตร ในรูปแบบ Onsite และทาง Online สามารถรับชมพร้อมกันทั่วประเทศ ถ่ายทอดสดผ่านทาง Youtube live ช่อง พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายทุกหลักสูตร สายกิจกรรม ลุ้นรางวัล เตรียมพบกับกิจกรรมสุดฮิต อาทิ กิจกรรมเกษตรไซเบอร์ ร่วมสนุกผ่านแว่น VR แสนเท่ ตะลุยภารกิจในโลกเสมือนจริง กิจกรรมเสี่ยงเซียมซีวิถีสายมู ทำนายชีวิตสไตล์เกษตร และกิจกรรมเพาะ แจก แลก เปลี่ยน ยังสามารถนำวัสดุเหลือใช้ อาทิ แก้วน้ำ ถุงพลาสติก มารับกล้าไม้ นานาชนิดกลับไปดูแลต่อที่บ้านได้เช่นเคย เปิดให้เข้าชม พิพิธภัณฑ์ในอาคารแบบจัดเต็มทั้งลดทั้งแถม ไม่ว่าจะเป็นพิพิธภัณฑ์ในหลวงรักเรา พิพิธภัณฑ์วิถีเกษตรไทย นิทรรศการขุมทรัพย์แห่งแผ่นดิน สนุกทะลุจอ สัมผัสประสบการณ์ใหม่ ในโรงภาพยนตร์แอนิเมชัน 7 มิติ “The Magic Box” ชม ช้อป ตลาดเศรษฐกิจพอเพียง ตลาดแห่งการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ สินค้า ผลผลิตเกษตรปลอดภัย ที่คัดสรรมาให้เลือกซื้อ รวมถึงอาหารพื้นบ้านคาวหวานทั้ง 4 ภาค ที่มากด้วยคุณภาพจากผู้ผลิต ราคาเป็นกันเองกว่า 120 ร้านค้า สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 02-529-2212-13, 087-359-7171 คลิกดูรายละเอียดได้ที่ www.wisdomking.or.th หรือ facebook / Instagram /Line ID : @wisdomkingmuseum และ Youtube พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ
วันที่ 26 มีนาคม 2565 พลอากาศเอก เสนาะ พรรณพิกุล ผู้อำนวยการสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยนางสาวสมพิศ วงค์ปัญญา รองผู้อำนวยการ สำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฝ่ายบริหาร ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) เรื่องการเผยแพร่พระเกียรติคุณและพระอัจฉริยภาพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ด้านการเกษตร และการเผยแพร่องค์ความรู้ นวัตกรรม เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง ร่วมกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อดิศร เนาวนนท์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ซึ่งการลงนามครั้งนี้เป็นจุดเริ่มต้นสำคัญในการร่วมกันส่งเสริมสนับสนุนการวิจัย และพัฒนาด้านการเกษตรเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชน สร้างกระบวนการเรียนรู้ และขยายผลองค์ความรู้ภาคการเกษตรบนพื้นฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ณ ห้องประชุม ดร.เศาวนิต เศาณานนท์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา