สำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรฯ จัดประชุมคณะทำงานปรับปรุงโครงสร้างและอัตรากำลังฯ ครั้งที่ 1/2566
สำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรฯ จัดประชุมคณะทำงานปรับปรุงโครงสร้างและอัตรากำลังฯ ครั้งที่ 1/2566
สำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน) จัดประชุมคณะทำงานกลั่นกรองระเบียบ ข้อบังคับ พกฉ. ครั้งที่ 5/2567 โดยมีนายปฏิญญา เหลืองทองคำ เป็นประธานการประชุม ในวันศุกร์ที่ 17 พฤษภาคม 2567 เวลา 09.30 น. ณ ห้องประชุมตามรอยพ่อ ชั้น 3 อาคารสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรฯ โดยมีรายละเอียดการประชุม ดังนี้
ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องที่ประธานแจ้งที่ประชุมทราบ
ระเบียบวาระที่ 2 เรื่องรับรองรายงานการประชุมคณะทำงานกลั่นกรองระเบียบ ข้อบังคับ พกฉ. ครั้งที่ 4/2567 เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2567
ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องเพื่อทราบ
3.1 รายงานร่างสัญญาจ้างที่ปรึกษา ที่แก้ไข
ระเบียบวาระที่ 4 เพื่อพิจารณา
4.1 การพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งทางปกครอง คำสั่งสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน) ที่ 15/2567 เรื่อง ให้ผู้ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามหนังสือกรมบัญชีกลาง ลงวันที่ 14 มีนาคม 2567
4.2 ร่างสัญญาจ้างผู้อำนวยการสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และร่างสัญญาจ้างเจ้าหน้าที่สำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ระเบียบวาระที่ 5 เรื่องอื่นๆ
สำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรฯ จัดประชุมคณะทำงานปรับปรุงโครงสร้างและอัตรากำลังฯ ครั้งที่ 1/2566
วันที่ 3 เมษายน 2568 สำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน) หรือ พกฉ. นำโดย นางสาวสำเภาว์ งามเชย รองผู้อำนวยการสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้การต้อนรับคณะอาจารย์และนักศึกษาจาก ภายใต้หลักสูตร Gen Green : ผู้นำทางความคิดด้านความยั่งยืน จัดโดยสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) หรือ สบร. เข้าเยี่ยมชมภายในพิพิธภัณฑ์ในหลวงรักเรา พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี ร่วมเรียนรู้และสืบสานพระเกียรติคุณและพระอัจฉริยภาพของพระมหากษัตริย์ไทยด้านการเกษตร ซึ่งเป็นหนึ่งในภารกิจหลักของ พกฉ. ในการเผยแพร่และขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่สู่การปฏิบัติที่ยั่งยืน โดยทางคณะได้สัมผัสเรื่องราวอันทรงคุณค่าผ่านนิทรรศการที่นำเสนอพระราชกรณียกิจและโครงการพระราชดำริด้านการเกษตรของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงศึกษา ค้นคว้า และพัฒนาการจัดการดิน น้ำ ป่า และคนอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สอดคล้องกับภูมิสังคมของประเทศไทย ส่งผลให้เกิดการประยุกต์ใช้ที่เหมาะสมและยั่งยืน นอกจากนี้ทางคณะยังได้ลงมือปฏิบัติจริงผ่าน กิจกรรมการทำสารพัดงอก และ การปลูกผักคอนโด ซึ่งเป็นนวัตกรรมการเกษตรบนพื้นที่ขนาดเล็กที่เน้นความหลากหลายและสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างง่ายดาย ในการนี้ทั้งสองหน่วยงานได้ร่วมกันหารือ แนวทางการสื่อสารองค์ความรู้อย่างยั่งยืน ร่วมกันระหว่าง 2 หน่วยงานองค์การมหาชน โดยมีเป้าหมายในการร่วมกันขยายผลการขับเคลื่อนการพัฒนาและการเผยแพร่พระเกียรติคุณและพระอัจฉริยภาพของกษัตริย์เกษตร องค์ความรู้ด้านการเกษตรเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่ประชาชนทั่วไป ให้สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้สร้างความมั่นคงทางอาหาร และพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืนต่อไป
สำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ ต้อนรับคณะจากโรงเรียนจ่าอากาศ กรมยุทธศึกษาทหารอากาศ
วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2568 พันจ่าเอก ประเสริฐ มาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยนายชญณิพัฑฒ์ จักรดารานุวัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนากิจการ เฝ้ารับเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ฯ สวนพฤกษศาสตร์สากล มาตรฐาน BGCI และสวนจากภูผาสู่มหานที โดยมีผู้บริหารหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมเฝ้ารับเสด็จ ณ สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ
วันที่ 21 สิงหาคม 2563 ที่ผ่านมา นายสหภูมิ ภูมิธฤติรัฐ ผู้อำนวยการสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ ต้อนรับ นางพลินี เตชะมวลไววิทย์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาบุคลากรด้านงบประมาณ พร้อมด้วย คณะผู้บริหารระดับสูงในโครงการหลักสูตรนักบริหารการงบประมาณระดับสูง (นงส.) รุ่นที่ 7 เข้าเยี่ยมชมและเรียนรู้พระเกียรติคุณและพระอัจฉริยภาพของพระมหากษัตริย์ไทย ด้านการเกษตร ผ่านฐานการเรียนรู้ต้นแบบเกษตรเศรษฐกิจพอเพียงเริ่มต้นฐานการเรียนรู้ด้วยการนั่งรถนำชมพิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง บนเส้นทางพิพิธภัณฑ์เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง ชมฐานการเรียนรู้บ้านดิน บ้านฟาง ฐานการเรียนรู้เกษตรพอเพียงเมือง และพิพิธภัณฑ์เกษตรตามรอยพ่อ ชมฐานการเรียนรู้การปลูกผักคุณภาพในโรงเรียน ชมแปลงเกษตรทฤษฎีใหม่ประยุกต์ 1 ไร่มั่งคั่งยั่งยืน จากนั้นเข้าชมพิพิธภัณฑ์ในอาคาร เรียนรู้พระเกียรติคุณ และพระอัจฉริยภาพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนารถบพิตร ด้านการเกษตร ที่พิพิธภัณฑ์ในหลวงรักเรา สร้างความตื่นตา ตื่นใจ กับเทคโนโลยี แสง สี เสียง สัมผัสความอัศจรรย์ของมวลเหล่าเมล็ดพันธุ์ ที่พิพิธภัณฑ์มหัศจรรย์พันธุกรรม ปิดท้ายด้วยการเข้าชมภาพยนตร์แอนิเมชั่น 3 มิติ เรื่องของพ่อในบ้านของเรา และเรื่อง "คิดถึงมิลืมเลือน" ผู้เข้าร่วมโครงการต่างประทับใจ และซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร อย่างหาที่สุดมิได้
วันที่ 28 เมษายน 2568 พันจ่าเอก ประเสริฐ มาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ลงพื้นที่ติดตาม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายอิทธิ ศิริลัทธยากร เป็นประธานเปิด โครงการส่งเสริมการเกษตรแบบผสมผสาน โดยจัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ ลดการชะล้างพังทลายของดินรอบหนองหาร จ.สกลนคร เพื่อพัฒนาและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมด้วยการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบและใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ณ บ้านบึงแดง หมู่ที่ 6 ต.โคกก่อง อ.เมือง จ.สกลนคร โดยมีนายศราวุธ สุวรรณจูฑะ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร ให้การต้อนรับ พร้อมด้วยผู้บริหารหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เข้าร่วม สำหรับกิจกรรมที่ดำเนินการภายใต้โครงการฯ มีเป้าหมายในพื้นที่บริเวณหนองหาร ประมาณ 7,000 ไร่ ประกอบด้วย 1. กิจกรรมระบบกระจายน้ำด้วยท่อโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ โดยก่อสร้างสถานีสูบ น้ำ 2 แห่ง ได้แก่ พื้นที่ตำบลม่วงลาย 1 แห่ง บริเวณริมหนองหาร ความยาวท่อกระจายน้ำ 2,806 เมตร และพื้นที่ตำบลโคกก่อง 1 แห่ง บริเวณบึงหนองแดง ความยาวท่อกระจายน้ำ 5,620 เมตร พื้นที่รับประโยชน์ จำนวน 2,520 ไร่ 2. กิจกรรมปรับระดับพื้นที่นาให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ พื้นที่รับประโยชน์ จำนวน 2,365 ไร่ และ 3. กิจกรรมงานโครงสร้างระบบกระจายน้ำ ได้แก่ งานฝายน้ำล้น งานรางคอนกรีต และงานท่อน้ำออก พื้นที่รับประโยชน์ 1,655 ไร่ ทั้งนี้ เพื่อลดและป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน และพัฒนาฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรม ด้วยการบริหารจัดการดินและน้ำ อย่างเป็นระบบและใช้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยในโอกาสนี้ รัฐมนตรีช่วยเกษตรฯ ได้ปลูกต้นได้และร่วมปล่อยพันธุ์ปลาตะเพียนทอง จำนวน 1 แสนตัว ลงสู่แหล่งน้ำเพื่อเพิ่มปริมาณพันธุ์สัตว์น้ำและอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำในธรรมชาติให้คงความอุดมสมสมบูรณ์ ตลอดจนสามารถเพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำ เพื่อสร้างอาชีพด้านการประมง และเพิ่มรายได้ให้กับประชาชนในท้องถิ่นได้อย่างยั่งยืนต่อไป