เข้าป่าแอบดูชีวิตสรรพสัตว์ กับเด็กๆ ร.ร. เทศบาลหินกอง
เข้าป่าแอบดูชีวิตสรรพสัตว์ กับเด็กๆ ร.ร. เทศบาลหินกอง
วันพุธที่ 5 มีนาคม 2568 เวลา 14.00 น. พันจ่าเอก ประเสริฐ มาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ พร้อมคณะผู้บริหาร ประชุมหารือร่วมกับคณะจากกองยุทธศาสตร์การพัฒนาความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางสังคม สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) โดยมี นางสาวศรี ศรีงาม ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจพอเพียงและธนาคารสมอง นางสาวโชโนรส มูลสภา นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษ นางนริสา พิชัยวรุตมะ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษ และนางนีรนุช เรืองกิตติยศยิ่ง นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการพัฒนาประเทศในภาคส่วนต่าง ๆ พร้อมรับฟังข้อมูลภาพรวมของพิพิธภัณฑ์การเกษตรฯ รวมถึงภารกิจในการเผยแพร่พระเกียรติคุณและพระอัจฉริยภาพกษัตริย์เกษตร ณ ห้องประชุมอาคารเฉลิมพระเกียรติฯ 1 สำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ จ. ปทุมธานี
การประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมและประมวลสถานการณ์การขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พร้อมทั้งวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูล และจัดทำข้อเสนอแนะประกอบการรายงานการขับเคลื่อนแนวคิดดังกล่าว โดยมีประเด็นหารือสำคัญ ได้แก่ ความเป็นมาในการดำเนินงาน กระบวนการและกลไกความร่วมมือ ผลการดำเนินงาน ความต่อเนื่อง ปัจจัยความสำเร็จ ข้อจำกัด และข้อเสนอแนะในการพัฒนาการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พร้อมเยี่ยมชมพื้นที่ฐานเรียนรู้กลางแจ้ง ภายในพิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ ปทุมธานี
เข้าป่าแอบดูชีวิตสรรพสัตว์ กับเด็กๆ ร.ร. เทศบาลหินกอง
วันที่ 10 กันยายน 2567 มาแอบดูน้องๆ นักเรียนจากโรงเรียนสีตบุตรบำรุง กรุงเทพมหานคร โรงเรียนโฆสิตสโมสร กรุงเทพมหานคร โรงเรียนเซนต์เทเรซา กรุงเทพมหานคร โรงเรียนมาลาสวรรค์พิทยา จ. นครนายก และเทศบาลตำบลราชคราม จ. พระนครศรีอยุธยา เรียนรู้การทำเกษตรพอเพียงผ่านการเข้าชมพิพิธภัณฑ์ในอาคาร พิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง และฝึกลงมือปฎิบัติจริงด้วยตนเอง ที่พิพิธภัณฑ์การเกษตรฯ โดยน้องๆ แต่ละโรงเรียนที่มาเรียนรู้ในวันนี้ได้เข้าร่วมโครงการส่งเสริมการเรียนรู้เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นโครงการฯ ที่เหมาะกับการเข้าชมและร่วมกิจกรรมแบบหมู่คณะ มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้สัมผัสประสบการณ์ สุข สนุก จากการเรียนรู้ชัด เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติได้จริง มีหลักสูตรการเรียนรู้กว่า 13 หลักสูตร และเป็นกิจกรรมแบบ “One stop service” ที่มีระยะเวลาให้เลือกหลากหลายเริ่มตั้งแต่ 2 ชั่วโมง 3 ชั่วโมง 5 ชั่วโมง 2 วัน 1 คืน และ 3 วัน 2 คืน อย่างวันนี้น้องๆ แต่ละโรงเรียนก็ได้เข้าร่วมหลักสูตรที่แตกต่างกัน1.โรงเรียนสีตบุตรบำรุง กรุงเทพมหานคร หลักสูตร "พอดีพอเพียง"2.โรงเรียนโฆสิตสโมสร กรุงเทพมหานคร หลักสูตร "ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้" 3.โรงเรียนเซนต์เทเรซา กรุงเทพมหานคร หลักสูตร "ตามรอยพ่อ กษัตริย์เกษตร เศรษฐกิจพอเพียง"4.โรงเรียนมาลาสวรรค์พิทยา จ. นครนายก หลักสูตร "ตามรอยพ่อ กษัตริย์เกษตร เศรษฐกิจพอเพียง"5.เทศบาลตำบลราชคราม จ. พระนครศรีอยุธยา หลักสูตร "ตามรอยพ่อ" สำหรับคณะสถาบันการศึกษา หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ที่ต้องการเข้าชมในรูปแบบหมู่คณะ สามารถดูรายละเอียดหลักสูตรต่างๆ เพิ่มเติมได้ที่ https://www.wisdomking.or.th/th/course-event สอบถามรายละเอียด 02-529-2212 094-649-2333 087-359-7171 หรือ www.wisdomking.or.th facebook/ และ Line ID: @wisdomkingmuseum
วันพุธที่ 4 ตุลาคม 2566 พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ต้อนรับคณะน้องๆ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จากโรงเรียนบ้านสวน (จั่นอนุสรณ์) จ.ชลบุรี เรียนรู้ไปกับโครงการส่งเสริมการเรียนรู้เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง ในหลักสูตร วิถีของพ่อ และคณะน้องๆ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 จากโรงเรียนสารสาสน์วิเทศสุวรรณภูมิ จ.สมุทรปราการ ในหลักสูตร พอดีพอเพียง โดยคณะจากโรงเรียนบ้านสวน (จั่นอนุสรณ์) จ.ชลบุรี พากันตามรอยเจ้าฟ้านักอนุรักษ์ ไปกับพิพิธภัณฑ์มหัศจรรย์พันธุกรรม รับชมภาพยนตร์ 3 มิติ เรื่อง ทรัพย์ดินสินน้ำ และพากันไปเรียนรู้ในพื้นที่กลางแจ้ง ตั้งแต่ โซนบ้านนวัตกรรมพลังงาน โซนเกษตรพอเพียงเมือง และโซนวิถีเกษตรไทย 4 ภาค สำหรับโรงเรียนสารสาสน์วิเทศสุวรรณภูมิ จ.สมุทรปราการ พากันไปพจญภัยในป่า กับพิพิธภัณฑ์ป่าดงพงไพร รับชมภาพยนตร์ 3 มิติ เรื่อง แผ่นดินของเรา เรียนรู้กันในส่วนของพิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง โซนบ้านนวัตกรรมพลังงาน 1 ไร่พอเพียง และลงมือฝึกปฏิบัติการทำนาดำและนาโยนกล้า ปิดท้ายด้วยกิจกรรมสร้างสรรค์ความคิด กิจกรรมสื่อสารสร้างสรรค์ ก่อนเดินทางกลับ หน่วยงานใดที่สนใจเข้าร่วมเรียนรู้ในรูปแบบหมู่คณะ สามารถดูหลักสูตรต่างๆได้ที่ https://www.wisdomking.or.th/th/course-event สอบถามรายละเอียด 02-529-2212-13 หรือ 087-359-7171 และ 094-649-2333
วันที่ 25 มกราคม 2566 ชมแปลงแบบวัยรุ่น Y2K กับน้องๆ จากโรงเรียนประชาอุปถัมภ์ จ.นนทบุรี ที่วันนี้เข้ามาเรียนรู้การทำนาโยนกล้าและความสำคัญของทรัพยากรดินกับพี่ๆ วิทยากรของพิพิธภัณฑ์การเกษตรฯ ผ่านกิจกรรมในโครงการส่งเสริมการเรียนรู้เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง หลักสูตร "พอดี พอเพียง" พร้อมกับชมพิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง ฐานการเรียนรู้ 1 ไร่ พอเพียง และวิถีเกษตรไทย 4 ภาค ที่จัดแสดงให้น้องๆ ได้เห็นความพอเพียงในแบบวิถีเกษตรที่แตกต่างกันของคนไทยในแต่ละภูมิภาค พร้อมกับเข้าชมพิพิธภัณฑ์ดินดล เพื่อค้นหาสิ่งมีชีวิตใต้พิภพ สนุกกับกิจกรรม "แผ่นเจ้าปัญหา" และตื่นตา เต้นใจ กับภาพยนตร์แอนิเมชัน 3 มิติ "เรื่องเมล็ดสุดท้าย" สะท้อนคุณค่าของเมล็ดพันธุ์ที่เราทุกคนต้องช่วยกันดูแล หน่วยงานใดที่สนใจเข้าร่วมเรียนรู้ในรูปแบบหมู่คณะ สามารถดูหลักสูตรต่างๆได้ที่ https://www.wisdomking.or.th/th/course-event สอบถามรายละเอียด 094-649-2333 087-359-7171 02-529-2212
วันนอาทิตย์ที่ 3 ธันวาคม 2566 พลอากาศเอก เสนาะ พรรณพิกุล ผู้อำนวยการสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มอบหมายให้ นางสาวจุฑามาศ ทองชมพูนุช ผู้อำนวยการสำนักสารสนเทศและการสื่อสาร ให้การต้อนรับ และกล่าวเปิดโครงการเผยแพร่พระอัจฉริยภาพกษัตริย์เกษตร และถ่ายทอดองค์ความรู้ ภูมิปัญญาและนวัตกรรมเกษตรไทย กลุ่มเยาวชนและประชาชนพื้นที่ศูนย์เรียนรู้เครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตรฯ “ฅนมีน้ำยา” อำเภอแปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา เข้าเรียนรู้วิถีเกษตรไทยและเรื่องราวการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์ ผ่านการเข้าชมนิทรรศการภายในพิพิธภัณฑ์ในอาคาร ฐานการเรียนรู้กลางแจ้ง พร้อมเรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติจริงกับวิทยากรเจ้าขององค์ความรู้ โดยในวันนี้ผู้เข้าร่วมโครงการฯ ได้เข้าชมเรื่องราวการสืบสาน รักษา ต่อยอด การทรงงานจากในหลวงรัชกาลที่ 9 สู่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน จากนิทรรศการสนองพระราชปนิธาน ชมพระอัจฉริยภาพของในหลวง รัชกาลที่ 9 ในการจัดการทรัพยากรดิน น้ำ ป่า คน ที่พระองค์ได้ถ่ายทอดไว้ผ่านศูนย์ศึกษาการพัฒนาทั้ง 6 แห่ง และ 2 โครงการหลวงตามภูมิภาคต่างๆ ที่ทรงแก้ปัญหาให้กับพสกนิกรชาวไทย ภายในนิทรรศการวิถีเกษตรของพ่อ พร้อมกับชมความซาบซึ้งถึงการทรงงานของในหลวง รัชกาลที่ 9 ที่ทุ่มเทพระวรกายเพื่อคนไทยผ่านภาพยนตร์แอนิเมชัน 3 มิติ "เรื่องของพ่อในบ้านของเรา" จากนั้นเข้าชมฐานการเรียนรู้ 1 ไร่ พอเพียง และเกษตรพอเพียงเมือง เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารจัดการพื้นที่การทำเกษตรที่มีอยู่จำกัด ให้ใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่า อีกทั้งยังสามารถสร้างรายได้ให้กับครอบครัว พร้อมลงมือปฏิบัติการขยายพันธุ์พืชแบบควบแน่น พร้อมรับชมนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติฯ “ขุมทรัพย์แห่งแผ่นดิน” สัมผัสประสบการณ์ใหม่ความแปลกใหม่ สุข สนุก ทะลุจอ ไปกับโรงภาพยนตร์แอนิเมชัน 7 มิติ The Magic Box และชมนิทรรศการพิเศษจากเครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตรฯ “ดิน น้ำ พลังงาน สร้างคลังอาหารชีวิต” ที่จัดขึ้นภายในงานมหกรรม "ภูมิพลังแผ่นดิน" ก่อนเดินทางกลับ
27 กุมภาพันธ์ 2565 พิพิธภัณฑ์การเกษตรฯ ต้อนรับนักศึกษาจากศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอพระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยาหลักสูตร เข้าเรียนรู้พระเกียรติคุณและพระอัจฉริยภาพของพระมหากษัตริย์ไทยและพระบรมวงศานุวงด้านการเกษตร โดยเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง หลักสูตร "ตามรอยพ่อ กษัตริย์เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง" ซึ่งกิจกรรมในวันดังกล่าวทางคณะได้เรียนรู้เรื่องราวของกษัตริย์นักพัฒนาจากกิจกรรมการเข้าชมพิพิธภัณฑ์ในส่วนต่างๆ และฝึกลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง เริ่มกิจกรรมด้วยการชมแนวคิดการสร้างอาชีพจากการทำเกษตรคุณภาพจากการชมฐานการเรียนรู้ "ผักคุณภาพในโรงเรือน" และ ฐานการเรียนรู้ "ระเบียงสวน" จากนั้นทำความรู้จักกับสมุนไพรไทยนานาชนิดที่เป็นประโยชน์ต่อการดูแลสุขภาพในฐานการเรียนรู้ "ต้นไม้แห่งการเรียนรู้" พร้อมฝึกลงมือปฏิบัติการขยายพันธุ์พืชแบบควบแน่น เพื่อฝึกขยายพันธุ์สมุนไพรชนิดต่างๆ ต่อจากนั้นคณะได้เข้าชมพิพิธภัณฑ์ในหลวงรักเรา เพื่อเรียนรู้นวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านการเกษตรจากนิทรรศการนวัตกรรมเกษตรเศรษฐกิจพอเพียง พร้อมเข้าชมความอุดมสมบูรณ์ของทุ่งไร่ปลายนาและวิถีชีวิตของเกษตรกรในต่างจังหวัดในนิทรรศการมหัศสจรรย์ท้องทุ่ง ต่อด้วยเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจากการทำกิจกรรมร่วมกันในกิจกรรม "รากฐานแห่งความมั่นคง" และชมภาพยนตร์แอนิเมชั่น 3 มิติ เรื่อง "อัจฉริยะนวัตกรรม" เป็นกิจกรรมปิดท้ายการเรียนรู้